Cagette Canteen & Deli – รีวิวร้านอาหารฝรั่งเศสที่อร่อยย่านสาทร!

รีวิวของใช้ที่เหมาะกับการใช้งานภายในออฟฟิศที่หาซื้อได้ในไทย

สวัสดีค่ะทุกคน

ชิฟูมิ มายด้า ผู้บริหารสาวชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยค่ะ

ขอบคุณทุกคนที่แวะเข้ามาชมบล็อก

“รีวิวจริงจากผู้บริหารสาวชาวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย” นะคะ

 

วันนี้ดิฉันอยากจะมาแนะนำของที่ดิฉันใช้อยู่เป็นประจำที่ออฟฟิศค่ะ

 

ตั้งแต่เริ่มมีการระบาดของไวรัสโควิด 19 ในไทย

หลายคนก็เริ่มที่จะเปลี่ยนมาทำงานที่บ้าน (Work from home) กันมากขึ้น

 

และเพื่อเปลี่ยนให้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่บ้านมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น

หลายคนเลยเลือกที่จะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านให้มีบรรยากาศคล้ายกับการทำงานที่ออฟฟิศ

 

ครั้งนี้เลยอยากรวบรวมของใช้ที่เคยมีลูกค้าดิฉันถามมา

หรือไม่ก็ของที่ดิฉันใช้เป็นประจำอยู่แล้วมาแนะนำให้กับทุกคนในวันนี้ค่ะ

Contents

ของใช้ที่เหมาะกับการใช้งานภายในออฟฟิศที่หาซื้อได้ในไทย

เครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ Beurer

ไทยเป็นประเทศที่อากาศร้อนทั้งปี แต่ทำไมในออฟฟิศถึงหนาวขนาดนี้ก็ไม่รู้

ออฟฟิศที่อยู่ในอาคารรวมมักจะมีแผงควบคุมกลางอยู่

ทำให้ไม่สามารถเปิด/ปิดหรือปรับอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศภายในออฟฟิศได้ตามใจชอบ

เลยต้องคอยทนหนาว แถมอากาศยังแห้งจนมือและเล็บแตกไปหมด

แห้งไปถึงตาเลยค่ะ

และแน่นอนว่าเมื่อผิวแห้งแล้วก็จะทำให้มีประจุไฟฟ้ามาสะสมบนผิวหนังมากขึ้นจนเกิดเป็นไฟฟ้าสถิต

และที่แย่ที่สุดคืออาการเจ็บคอที่จะตามมา

ด้วยเหตุนี้เลยลองซื้อเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศมาใช้ในบริษัทดูค่ะ

 

ตอนแรกดิฉันลองซื้อเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศมาจาก LAZADA ในราคา 600 บาท

แต่ใช้ไปได้ครั้งเดียวก็พังเลย..

แถมดิฉันดันเอาไปวางไว้บนชั้นใส่เอกสารอีกต่างหาก เลยทำให้เอกสารทั้งหมดที่อยู่บนชั้นเปียกไปหมด

 

 

สุดท้ายเลยทำเรื่องขอคืนสินค้าไปและได้เงินคืนมาค่ะ

 

ครั้งนี้เลยลองซื้อเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศยี่ห้อ Beurer

แบรนด์ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจากเยอรมันมาลองใช้ดู

 

เพราะในไทยไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องเพิ่มความชื้น

กว่าดิฉันจะหาซื้ออันที่ถูกใจได้ก็ใช้เวลานานอยู่พอสมควร

 

บางทีพอเจอแล้วดีไซน์หรือฟังก์ชันก็ดันไม่ค่อยถูกใจดิฉันสักเท่าไร

บวกกับมีประสบการณ์ใช้ครั้งเดียวแล้วพังด้วย เลยเลือกที่จะซื้อเป็นแบรนด์ผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงดีกว่าค่ะ

 

รอบนี้ไม่มีขายใน LAZADA แต่ซื้อจากเว็บ Central Online ค่ะ

 

 

ข้อดีของเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ Beurer

รูปทรงดูดีมีสไตล์ แม้จะเป็นเครื่องเพิ่มความชื้นแต่ก็ไม่มีน้ำหกออกมาเลอะพื้นเลย

หากน้ำในเครื่องหมด เครื่องก็จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ (จุน้ำได้ 1.5 ลิตร)

มีโหมดเพิ่มความชื้นถึง 3 โหมด (High/Low/Sleep)

หากปรับเป็นโหมด Sleep ไฟ LED จะไม่สว่างขึ้น

[ระยะเวลาการใช้งาน] โหมด High: 4 ชั่วโมง / โหมด Low: 7 ชั่วโมง / โหมด Sleep: 4 ชั่วโมง

ดูแลรักษาง่าย

 

สรุปเกี่ยวกับเครื่องเพิ่มความชื้นในอากาศ Beurer

ราคา: 3,200 บาท

ซื้อจาก: เว็บไซต์ Central Online

  

อื่นๆ: ตัวเครื่องมีช่องสำหรับใส่น้ำมันอโรม่า (น้ำมันหอมระเหย) ก็จริง แต่กลิ่นไม่ค่อยออก
ถ้าต้องการใช้งานโดยเน้นไปที่กลิ่นหอมอโรม่า แนะนำเป็นของ MUJI จะดีกว่าค่ะ
ดิฉันใช้อยู่ที่บ้าน เป็นเครื่องที่ดีไซน์มาเพื่อส่งกลิ่นหอมจากน้ำมันอโรม่าโดยเฉพาะเลยค่ะ

 Link to: Muji Aroma defuser

 

UV Film (ฟิล์มกรองแสง)

ไม่รู้ทำไมดิฉันมักจะได้อยู่ตรงจุดที่แดดส่องเข้ามาเต็มๆ ทั้งที่ออฟฟิศทั้งที่บ้านเลยค่ะ

(เมืองไทยอากาศร้อนมาก คนส่วนใหญ่เลยเลือกที่จะหลบแดดกันค่ะ)

 

หน้าต่างในออฟฟิศดิฉันจะหันไปทางทิศตะวันตก

ช่วงเช้าจะหนาวมาก แต่ช่วงบ่ายแดดจะส่องเข้ามาเต็มๆ ทำให้ร้อนระอุไปทั้งห้อง

แถมแอร์ยังทำให้ผิวกับคอแห้งอีกต่างหาก ดิฉันทำงานในสภาพแวดล้อมแบบนี้ล่ะค่ะ

 

เลยลองหาข้อมูลจากหลายๆ ที่ดู จึงไปเห็นโฆษณาว่า หากติด UV Film (ฟิล์มกรองแสง) ที่หน้าต่าง

จะช่วยให้แอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควบคุมอุณหภูมิภายในห้องได้ง่ายขึ้น

แถมยังช่วยประหยัดค่าไฟได้ด้วย

พอเห็นโฆษณาแบบนี้แล้วเลยลองซื้อมาติดที่บ้านตอน Work from home ดูค่ะ

 

พอได้ลองติด UV Film (ฟิล์มกรองแสง) ที่บ้านแล้ว อากาศภายในบ้านก็เย็นขึ้นมาทันที

เลยตัดสินใจซื้อไปติดที่บริษัทดูบ้าง โดยให้พนักงานในบริษัทช่วยกันติดค่ะ

 

UV Film

 

ข้อดีของ UV Film (ฟิล์มกรองแสง)

 

วิธีติดไม่ซับซ้อน ใครก็สามารถติดได้ด้วยตัวเอง

ติดง่ายแค่เตรียมน้ำกับขวดฉีดน้ำและที่รีดกระจก (แถมมากับฟิล์ม)
ฉีดน้ำลงบนหน้าต่างและฟิล์มแล้วค่อยๆ ติดลงไปทีละนิด

ฟิล์มช่วยป้องกันรังสียูวีได้ถึง 99.99% เลยช่วยกันแดดตอนกลางวันได้ดีเยี่ยม

ช่วยป้องกันไม่ให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วยลดค่าไฟได้อีกด้วย

แผ่นฟิล์มป้องกันรังสียูวีได้ ช่วยให้เฟอร์นิเจอร์และเสื้อผ้าไม่ได้รับผลกระทบจากรังสียูวี

 

คำแนะนำในการติด UV Film (ฟิล์มกรองแสง)

 

ขั้นตอนแรกให้เช็ดหน้าให้สะอาดเพื่อไม่ให้มีคราบฝุ่นหรือคราบน้ำมันหลงเหลืออยู่บนกระจก

ค่อยๆ ติดไปทีละ 5 ซม. เพื่อให้สามารถติดได้อย่างเรียบเนียนและสวยงาม

 

สรุปเกี่ยวกับ UV Film (ฟิล์มกรองแสง)

 

ขนาด (กว้าง): 40, 50, 60, 70, 80, 90, 100, 110 ซม.

การจำหน่าย: ขายเป็นเมตร

หากต้องการซื้อขนาดยาว 4 เมตร ตอนกดซื้อให้ระบุจำนวนเป็น “4” ในช่อง Quantity (จำนวน)

 

และนี่ก็คือ UV Film ที่ดิฉันซื้อมาค่ะ

และนี่ก็คือ UV Film ที่ดิฉันซื้อมาค่ะ 

 

เก้าอี้เพื่อสุขภาพ (Hara Chair) ช่วยลดอาการปวดหลัง

 

ดิฉันมักจะนั่งทำงานอยู่ที่โต๊ะเป็นหลัก

และเริ่มมีอาการปวดหลังสมัยทำงานออฟฟิศแรกๆ ตอนอายุ 25

ช่วงหลังมานี้ดิฉันเริ่มกลับมามีอาการแบบนี้บ่อยขึ้น เช่น ในตอนที่รู้สึกเหนื่อยหรือพยายามฝืนตัวเองให้ทำงาน

 

ดิฉันลองหาเก้าอี้ทำงานมาหลายแบบมาก

จนในที่สุดก็ได้มาเจอกับ Hara Chair ที่ใช้เป็นประจำมานานหลายปีแล้วค่ะ

 

เก้าอี้นี้มีหลายรุ่นลยนะคะ แต่แบบที่ดิฉันใช้อยู่เป็นประจำจะเป็นรุ่น “Doctor” ค่ะ

ดิฉันซื้อเก้าอี้นี้มาตั้งแต่ตอนเริ่มวางขายในไทยช่วงแรกๆ และใช้มานานประมาณ 10 ปีแล้ว

เคยซื้อให้พนักงานเป็นของขวัญด้วย ส่วนเก้าอี้ตัวที่ทุกคนเห็นในภาพนี้เป็นตัวที่ 7 แล้วค่ะ

ดิฉันซื้อรุ่นเดียวกันมา 2 ตัวเลย ไว้ใช้ที่บ้านด้วยตัวนึง

 

Hara Chair

 

ข้อดีของเก้าอี้เพื่อสุขภาพ Hara Chair

 

เบาะนั่งจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง ทำให้กระจายน้ำหนักได้ดี ช่วยลดอาการปวดหลัง

สามารถปรับระดับความสูงได้ตามต้องการ ทำให้ปรับระดับเก้าอี้ให้เหมาะสมกับส่วนสูงของตัวเองได้ด้วย

พนักพิงเป็นตาข่าย ช่วยระบายความร้อนได้ดีทำให้รู้สึกเย็นสบาย

มีหมอนรองรับบริเวณหลัง ช่วยลดอาการปวดเมื่อยหากนั่งติดต่อกันเป็นเวลานาน

เหมาะกับ “Doctor” ที่ต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานตามชื่อรุ่น

มีบริการซ่อมแซมหากเก้าอี้ชำรุดเสียหาย

 

สรุปเกี่ยวกับเก้าอี้เพื่อสุขภาพ Hara Chair

 

สถานที่จำหน่าย: ซื้อได้ตามร้านขายเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปหรือซื้อผ่านเว็บไซต์

ราคา: 11,000-28,000 บาท

 

เว็บแสดงรายละเอียดเก้าอี้เพื่อสุขภาพ Hara Chair รุ่น Doctor ที่ดิฉันใช้เป็นประจำ

เว็บแสดงรายละเอียดเก้าอี้เพื่อสุขภาพ Hara Chair รุ่น Doctor ที่ดิฉันใช้เป็นประจำ

 

ส่วนอันนี้เป็นรุ่น NIETZSCHE ที่ดิฉันเคยใช้เมื่อก่อนค่ะ

ส่วนอันนี้เป็นรุ่น NIETZSCHE ที่ดิฉันเคยใช้เมื่อก่อนค่ะ

 

ถาดวางคีย์บอร์ด (Keyboard tray)

ดิฉันพึ่งย้ายออฟฟิศใหม่เมื่อเดือนเมษายน 2564 ที่ผ่านมา

ตอนย้ายเลยตัดสินใจนำโต๊ะที่เคยใช้ในห้องประชุมมาเป็นโต๊ะทำงานแทน

 

แต่ตอนเริ่มใช้แรกๆ กลับรู้สึกปวดไหล่ขึ้นมา เลยลองวัดความสูงของโต๊ะดูได้ประมาณ 75 ซม.

ซึ่งถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

 

ตามมาตรฐานแล้วโต๊ะทำงานควรสูงประมาณ 60-65 ซม. (ขึ้นอยู่กับส่วนสูงของแต่ละคน)

สำหรับดิฉันที่สูง 169 ซม. แล้วโต๊ะทำงานที่สูง 75 ซม. จะถือว่าสูงเกินไปค่ะ

 

ดิฉันเลยลองปรับความสูงของเก้าอี้ขึ้นมา

แต่พอปรับแล้วเท้าก็ลอยตามขึ้นมาทำให้ดิฉันคิดจะซื้อที่วางเท้ามาใช้

 

แต่พอลองหาข้อมูลดูแล้วคิดว่าใช้ถาดวางคีย์บอร์ดน่าจะดีกว่า เลยตัดสินใจซื้อมาค่ะ

 

ดิฉันซื้อแบบกว้าง 65 ซม. มาค่ะ

ดิฉันซื้อแบบกว้าง 65 ซม. มาค่ะ

 

ข้อดีของถาดวางคีย์บอร์ด

 

สามารถวางคีย์บอร์ดไว้ใต้โต๊ะได้ ทำให้มีพื้นที่บนโต๊ะมากขึ้น

มุมข้อศอกจะอยู่ที่ประมาณ 90 องศา ทำให้ไหล่ไม่ต้องรับภาระหนัก
(ว่ากันว่าหากมุมข้อศอกอยู่ที่ประมาณ 90 องศาจะทำให้ร่างกายไม่ต้องรับภาระหนักค่ะ)

 

ก่อนซื้อแนะนำให้ลองวัดความกว้างของโต๊ะดูก่อนว่าสามารถประกอบเข้ากับโต๊ะได้หรือไม่

 

สรุปเกี่ยวกับถาดวางคีย์บอร์ด

 

ราคา: ขึ้นอยู่กับความกว้างของถาด แต่ไม่เกิน 900 บาท

สี: มี 2 สี (สีดำ/สีไม้)

 

มุมทำงานของดิฉันค่ะ ดิฉันใช้ประกอบกับโต๊ะแบบนี้

มุมทำงานของดิฉันค่ะ ดิฉันใช้ประกอบกับโต๊ะแบบนี้

 

 

 

เครื่องฟอกอากาศระบบ Nanoe ยี่ห้อ Panasonic

 

กรุงเทพฯ มีปัญหาด้านมลพิษทางอากาศค่อนข้างรุนแรง ทำให้ดิฉันเจ็บคอติดต่อกันหลายวัน

แม้แต่ในออฟฟิศเองก็ยังรู้สึกได้ถึงฝุ่นที่ลอยอยู่ในอากาศ เลยลองซื้อเครื่องฟอกอากาศมาใช้ดูค่ะ

 

ดิฉันลองหาดูหลายยี่ห้อ แต่สุดท้ายก็เลือกซื้อเป็นระบบ Nanoe ยี่ห้อ Panasonic ที่สามารถหาซื้อได้ง่ายๆ ในไทย

 

แม้แต่ในญี่ปุ่นเอง ผลิตภัณฑ์ระบบ Nanoe ก็มีชื่อเสียงมากเช่นกัน

ว่ากันว่าจะช่วยลดฝุ่นละอองอันเป็นสาเหตุของโรคภูมิแพ้และมลพิษในอากาศ

รวมถึงยังช่วยขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้มากถึง 99% เลยทีเดียว

 

เท่าที่หามา ในไทยเองก็มีเครื่องฟอกอากาศระบบ Nanoe จำหน่ายอยู่ถึง 3 รุ่น

โดยราคาจะอยู่ที่ 5,900 6,990 และ 9,900 ขึ้นอยู่กับรุ่น

 

ดิฉันลองพิจารณาจากการใช้งานในห้องที่ค่อนข้างกว้างและการใช้งานภายในออฟฟิศ

บวกกับไม่ต้องการระบบเพิ่มความชื้นในอากาศ

เลยเลือกซื้อเป็นรุ่นที่ราคา 5,900 บาท

 

ลักษณะเด่นของแต่ละรุ่นมีดังนี้ค่ะ

 

ลักษณะเด่นของเครื่องฟอกอากาศระบบ Nanoe ราคา 5,900 บาท

 

น้ำหนัก: 4.8 กก.

ขนาดห้องที่แนะนำ: ไม่เกิน 26 ตร.ม.

ระบบเพิ่มความชื้นในอากาศ: ไม่มี

โหมด PM 2.5: ไม่มี

ระยะเวลาการเปลี่ยนตัวกรองที่แนะนำ: 3 ปี

วิธีการเปลี่ยนตัวกรอง: กำจัดฝุ่นออกด้วยเครื่องดูดฝุ่น

 

 

ลักษณะเด่นของเครื่องฟอกอากาศระบบ Nanoe ราคา 7,990 บาท

น้ำหนัก: ไม่ทราบ

ขนาดห้องที่แนะนำ: ไม่เกิน 36 ตร.ม.

ระบบเพิ่มความชื้นในอากาศ: มี

โหมด PM 2.5: มี

ระยะเวลาการเปลี่ยนตัวกรองที่แนะนำ: 4 ปี

วิธีการเปลี่ยนตัวกรอง: สามารถล้างน้ำได้

 

 

ลักษณะเด่นของเครื่องฟอกอากาศระบบ Nanoe ราคา 11,990 บาท

 

น้ำหนัก: 5.8 กก.

ขนาดห้องที่แนะนำ: ไม่เกิน 90 ตร.ม.

ระบบเพิ่มความชื้นในอากาศ: ไม่มี

โหมด PM 2.5: มี

ระยะเวลาการเปลี่ยนตัวกรองที่แนะนำ: 4 ปี

วิธีการเปลี่ยนตัวกรอง: กำจัดฝุ่นออกด้วยเครื่องดูดฝุ่น

 

  

 

จุดเด่นของเครื่องฟอกอากาศระบบ Nanoe

 

ดูแลรักษาง่าย

ระบบการทำงานมีความเรียบง่ายและเข้าใจง่าย

สามารถเลือกซื้อได้ตามฟังก์ชันที่ต้องการและขนาดห้องที่ใช้งาน

 

Panasonic nanoe

 

พอดิฉันกลับเข้ามาถึงออฟฟิศก็พบกับเครื่องฟอกอากาศที่กำลังตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่เลยค่ะ

มีไฟสีแดงขึ้นมาแบบนี้ ไม่รู้ว่าเจ้าเครื่องนี้ตั้งใจจะทำความสะอาดตัวดิฉันไปด้วยหรือเปล่านะคะ

สรุป

และนี่ก็คือการรีวิวของที่ดิฉันใช้อยู่จริงๆ ในออฟฟิศค่ะ

ดิฉันคิดว่าคงมีหลายคนเลยที่ทำงานยาวนานถึง 24 ชั่วโมงต่อวัน

เพราะงั้นลองมาปรับสภาพแวดล้อมโดยรอบให้เหมาะสมกับการทำงานไปด้วยกันไหมคะ

この記事が気に入ったら
フォローしてね!

よかったらシェアしてね!
  • URLをコピーしました!
  • URLをコピーしました!

กรุณาแสดงความคิดเห็นหากคุณชอบบทความนี้

コメントする

Contents